วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การดาวน์โหลดและการอัพโหลดไฟล์

การดาวน์โหลดและการอัพโหลดไฟล์
1.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการถ่ายโอนข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การ โอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware sharewareจากแหล่ง ข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้Serverของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่WS_FTP, CuteFTP        
 การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
  1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น www.download.com
  2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้
ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
        การโอนถ่ายข้อมูลหรือเอฟทีพี (File Transfer Protocol - FTP) เป็นบริการหนึ่งของ  อินเทอร์เน็ตหมายถึง การดึงไฟล์จากคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของเรา โดยที่เราสามารถคัดลอก ถ่ายโอนข้อมูล รูปภาพ เสียง วิดีโอและโปรแกรมต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ตได้เอฟทีพีนี้เป็นวิธีการหลักในการส่งไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งมีคำที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ลักษณะคือ
        การดาวน์โหลด  (Download) หมายถึง การดึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งเป็นต้นทางมาเก็บไว้ยังเครื่องของเรา โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        การอัพโหลด  (Upload) หมายถึง การนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ไปเก็บไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกเครื่องที่ปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกได้ว่าตรงกันข้ามกับดาวน์โหลด
ประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลด
        ใน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถที่จะดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ จากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้สามารถจัดแบ่งประเภทของโปรมแกรมออกเป็น 4 ประเภท คือ

แชร์แวร์ (Shareware)
        แชร์แวร์ (Shareware) คือ โปรแกรมรุ่นทดลองใช้ ซึ่งผู้ผลิตโปรแกรมจะให้เราดาวน์โหลดโปรแกรมนี้มาทดลองใช้ โดยจะกำหนดระยะเวลาในการใช้งาน เช่น 30 วัน หรือ 60 วัน นับจากวันที่เราติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เมื่อครบตามระยะเวลาแล้วโปรแกรมนั้นจะไม่สามารถใช้งานได้ หรือถ้าใช้งานได้โปรแกรมนี้จะไม่สมบูรณ์ รูปแบบของการใช้งานบางอย่างจะถูกระงับการใช้ เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งานในครั้งต่อไป โปรแกรมจะถามหมายเลขลงทะเบียน ซึ่งผู้ใช้พอจะเข้าใจในการทำงานของโปรแกรมก็สามารถทำการสั่งซื้อโปรแกรม เพื่อป้อนหมายเลขลงทะเบียนของโปรแกรมถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมซึ่งเป็นแชร์แวร์ ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นโปรแกรมจริง ซึ่งมีคุณสมบัติที่สมบูรณ์ในการใช้งานได้ทันที

เดโมแวร์ (Demoware)
        เดโมแวร์ (Demoware) คือ โปรแกรมรุ่นทดลองใช้ มีลักษณะคล้ายกับโปรแกรมประเภทแชร์แวร์ แต้ถูกจำกัดขอบเขตของการใช้งาน ซึ่งโปรแกรมรูปแบบเต็มอาจจะมีเมนูสำหรับการใช้งาน 5 เมนแต่โปรแกรมเดโมแวร์นั้นอาจจะเปิดให้เราสามารถใช้งานได้เพียง 2 เมนู เป็นการให้ทดลองใช้เพียงบางส่วนของโปรแกรม แต่ลักษณะของโปรแกรมแชร์แวร์นั้นจะให้เราสามารถใช้งานได้ครบทุกส่วนของ โปรแกรมแต่กำหนดระยะเวลาการทดลองใช้งาน ซึ่งถ้าเราต้องการจะใช้งานจริงของโปรแกรมประเภทนี้จะต้องสั่งซื้อโปรแกรม จากผู้ผลิตต่อไป

โปรแกรมรุ่นเบต้า (Beta Software)
        โปรแกรมรุ่นเบต้า (Beta Software) บางครั้งอาจจะเรียกว่า โปรอกรมรุ่นอัลฟา (Alfa Software) ซึ่ง ในรูปแบบนี้ จะเป็นโปรแกรมรุ่นที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ผู้ผลิตโปรแกรมมักจะนำโปรแกรมที่ยังสร้างไม่เสร็จนี้มาใช้งาน และเมื่อมีปัญหาใดในการใช้งาน ก็ให้ผู้ใช้แจ้งกลับไปยังผู้ผลิตเพื่อนำไปปรับปรุงโปรแกรมต่อไป ซึ่งเปรียบเสมือนให้ผู้ใช้โปรแกรมเป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของโปรแกรม โปรแกรมลักษณะนี้เมื่อเราดาวน์โหลดมาใช้งานแล้วอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการใช้ งานมากมาย หรือบางครั้งนำมาติตั้งเพื่องานในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่สามารถลบออก จากหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนที่จะนำโปรแกรมเหล่านี้มาใช้งาน

โปรแกรมฟรี (Freeware)
        บน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีโปรแกรมมากมายที่ให้บริการฟรี ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ หรือบางเว็บไซต์ก็จะเป็นตัวกลางที่ช่วยรวบรวมโปรแกรมฟรีเหล่านี้มาไว้ให้ผู้ ใช้ได้ดาวน์โหลดได้ง่ายขึ้นซึ่งโปรแกรมฟรีเหล่านี้อาจจะมีคุณสมบัติในการทำ งานได้ดีเช่นเดียวกับเป็นโปรแกรมที่มีการซื้อขาทั่วไป

ขั้นตอนในการดาวน์โหลด
สามารถจัดแบ่งรูปแบบของการดาวน์โหลดข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การดาวน์โหลดไฟล์
  1.คลิกFREEจะมีข้อความ รอสักครู่
  2.คลิกDownloadingรอสักครู่
  3.บันทึกไฟล์
2. การดาวน์โหลดประเภทรูปภาพ
        การดาวน์โหลดประเภทรูปภาพสามารถทำได้หลายกรณี เช่น บันทึกเป็นไฟล์ชนิดรูปภาพ บันทึกเป็นภาพ Background บันทึกเป็นภาพ Desktop Item เป็นต้น
  วิธีการบันทึกรูปภาพสามารถทำตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. เมื่อเราคลิกรูปภาพแล้วปรากฏสัญลักษณ์นี้< แสดงว่าเราสามารถบันทึกได้
2. หรือว่าเมื่อเราคลิกรูปภาพ Mouse ด้านขาวมือ จะปรากฏเมนูขึ้น ให้เลือกที่ Save Picture As:
3. จะปรากฏหน้าต่าง Save Picture เพื่อกำหนด Drive และไฟลเดอร์ที่ Save in เพื่อบอกตำแหน่งที่ต้องการบันทึกรูปภาพ
4. กำหนดชื่อของรูปภาพ
5. Save as type: คือนามสกุลของรูปภาพ
6. เมื่อต้องการำรูปภาพไปเป็นภาพ Background บนหน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เลือกที่ Set as Background
7. เมื่อเลือก Set as Desktop Item… จะปรากฏข้อความเพื่อถามความแน่ใจ เพื่อทำรูปภาพเป็น Ihe Active Desktop ที่ปรากฏบนหน้าจอ Desktop
8. เมื่อเลือกที่ E-mail picture จะเป็นการส่งรูปภาพต่อไปให้เพื่อนทางอีเมล เพื่อทำให้การส่งรูปภาพได้รวดเร็วขึ้น โดยคลิกที่ Make all my picture smaller
9. แต่ถ้าต้องการให้รูปภาพมีขนาดเท่ากับขนาดของภาพจริง ให้คลิกที่ keep the originals sizes โดยจะปรากฏหน้าต่าง Send picture via E-mail
10. จะปรากฏหน้าต่างเพื่อให้กำหนดที่อยู่ของผู้รับ เพื่อส่งอีเมลได้ทันที

2.ความหมายของการ Down Load และ Up Load
การดาวน์โหลด (Download) หมายถึง การดึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งเป็นต้นทางมาเก็บไว้ยังเครื่องของเรา โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        การอัพโหลด (Upload) หมายถึง การนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ไปเก็บไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกได้ว่าตรงกันข้ามกับดาวน์โหลด

3.ประเภทของแฟ้มข้อมูล
        ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type) เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
        1. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า (Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (Account system)
        2. แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file) เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
การปรับปรุงแฟ้มข้อมูลสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น การเพิ่มรายการ (Add record) การลบรายการ (Delete record) และการแก้ไขรายการ (Edit)

การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล (File organization) มีวิธีการจัดได้หลายประเภท เช่น
        1. การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลแบบตามลำดับ (Sequential File organization) ลักษณะการจัดข้อมูลรายการจะเรียงตามฟิลด์ที่กำหนด (Key field) เช่น เรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร โดยส่วนมากมักจะใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลซึ่งการเก็บโดยวิธีนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
        2. การจัดระเบียนแฟ้มข้อมูลแบบตรงหรือแบบสุ่ม (Direct or random file organization) โดยส่วนมากมักจะใช้จานแม่เหล็ก (Hard disk) เป็นหน่วยเก็บข้อมูล การบันทึกหรือการเรียกข้อมูลขึ้นมาสามารถเรียกได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านรายการอื่นก่อน เราเรียกวิธีนี้ว่าการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง (Direct access) หรือการเข้าถึงโดยการสุ่ม (Random Access) การค้นหาข้อมูลโดยวิธีนี้จะเร็วกว่าแบบตามลำดับ ทั้งนี้เพราะการค้นหาจะกำหนดดัชนี (Index) จะนั้นจะวิ่งไปหาข้อมูลที่ต้องการหรืออาจจะเข้าหาข้อมูลแบบอาศัยดัชนีและเรียงลำดับควบคู่กัน (Indexed Sequential Access Method (ISAM) โดยวิธีนี้จะกำหนดดัชนีที่ต้องการค้นหาข้อมูล เมื่อพบแล้วต้องการเอาข้อมูลมาอีกกี่ รายการก็ให้เรียงตามลำดับของรายการที่ต้องการ ซึ่งการเก็บโดยวิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
        อุปสรรคในการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบดั้งเดิม (Traditional or Conventional file) คือ หน่วยสำรองข้อมูล (Storage) จะมีแฟ้มข้อมูลหลักอยู่และในแฟ้มข้อมูลหลัก (Master file) จะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ (Data Element) เช่น A-Z แต่ละแผนกก็จะต้องเขียนโปรแกรมประยุกต์ (Application Program) ของงานตนเองขึ้นมา ซึ่งแต่ละงานอาจจะมีการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกัน แสดงการใช้แฟ้มข้อมูลแบบดั้งเดิม
        การจัดการแฟ้มข้อมูล (File Management) ในอดีตข้อมูลที่จัดเก็บไว้จะอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลอิสระ (Conventional File) ซึ่งระบบงานแต่ละระบบก็จะสร้างแฟ้มของตนเองขึ้นมาโดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น ระบบบัญชี ที่สร้างแฟ้มข้อมูลของตนเอง ระบบพัสดุคงคลัง (Inventory) ระบบการจ่ายเงินเดือน(Payroll) ระบบออกบิล (Billing) และระบบอื่นๆต่างก็มีแฟ้มข้อมูลเป็นของตนเอง หากมีการปรับปรุงแก้ไขก็จะทำเฉพาะส่วนจึงทำข้อมูลขององค์การ บางครั้งเกิดสับสนเนื่องจากข้อมูลขัดแย้งกันและในบางองค์การอาจจะมีการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาที่เขียนที่ต่างกัน เช่นภาษาโคบอล (COBOL language) ภาษาอาร์พีจี(RPG) ภาษาปาสคาล (PASCAL) หรือภาษาซี (C language) ซึ่งมีลักษณะของแฟ้มข้อมูลที่สร้างด้วยภาษาที่ต่างกันก็ไม่สามารถจะใช้งานร่วมกันได้ จึงทำให้องค์การเกิดการสูญเสียในข้อมูล ดังนั้นก่อนที่องค์การจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้จะต้องมีการวางแผนถึงระบบการบริหารแฟ้มข้อมูล การแบ่งประเภทของแฟ้มข้อมูลและการจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล
        การบริหารแฟ้มข้อมูลจะต้องมีการกำหนดโปรแกรมที่จะพัฒนาขึ้นมาว่าจะใช้ภาษาอะไร มีหน่วยงานใดต้องใช้ ต้องการข้อมูลอะไร ข้อมูลที่แต่ละแผนกต้องการซ้ำกันหรือไม่ หรือมีข้อมูลอะไรที่ขาดหายไปและข้อมูลฟิลด์ไหนที่จะใช้เป็นคีย์ในการค้นหาข้อมูล เช่น การสร้างแฟ้มประวัติลูกค้า

ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type) เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
        1.แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า (Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (Account system)
        2.แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file) เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

4.ประเภทของซอฟต์แวร์ที่ให้การดาวน์โหลด
          ประเภทของซอฟต์แวร์ที่ให้ดาวน์โหลด
         1.ฟรีแวร์
         ฟรีแวร์ (freeware) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า
        2.แชร์แวร์ (Shareware)
        แชร์แวร์ คือ โปรแกรมที่ถูกจำกัดความสามารถไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้โปรแกรม โดยหากสนใจใช้โปรแกรมอย่างครบทุกความสามารถ จึงจ่ายเงินเป็นค่าลงทะเบียนให้ผู้พัฒนาโปรแกรม ประโยชน์ของการขายโปรแกรมด้วยวิธีนี้คือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเสียเงินก็สามารถใช้โปรแกรมได้ และยังได้สร้างความคุ้นเคยในการใช้งานให้ผู้ใช้ด้วย รวมถึงเป็นการแนะนำสินค้าที่ดีวิธีหนึ่ง ส่วนความสำเร็จของผู้เขียนโปรแกรมแชร์แวร์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ใช้ที่ทดลองใช้โปรแกรมไปแล้วตัดสินใจลงทะเบียน

5.โปรแกรมที่ใช้สำหรับการดาวน์โหลด

        1. Flashgetไม่ต้องสงสัยอะไรเลยเกี่ยวกับโปรแกรมตัวนี้ Flashget เป็นโปรแกรมที่ประสิทธิภาพสูงตัวนึงและมีประวัติที่ยาวนานนับสิบปี นับตั้งแต่เวอร์ชั่นแรกที่ใช้ชื่อว่า Jetcar เป็นโปรแกรมช่วยดาวน์โหลดที่ทำให้ชีวิตการใช้อินเตอร์เน็ตแบบ 56K ของเราในสมัยนั้นดีขึ้นกว่าเดิมมากและเป็นโปรแกรมที่ทำให้ดาวน์โหลดไวขึ้นถึงสิบเท่าเพราะการแยกส่วนเป็นโปรแกรมแรกๆ ถึงปัจจุบันจะดูเนิบนาบแต่ก็เป็นโปรแกรมที่ผมยังใช้ติดเครื่องอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญมันใช้งานได้ฟรีโปรแกรมตัวนี้ฟีเจอร์อาจดูไม่โดดเด่นมาก แต่สำหรับผมการใช้มันควบคู่กับ Flashgot บน Firefox แค่นี้ก็เพียงพอและทำได้แทบทุกอย่างแล้ว
 

        2. DownThemAll! อันนี้อาจจะมีข้อจำกัดไปนิดนึงเพราะว่ามันเป็น Firefox Extension แต่ก็เป็นโปรแกรมตัวนึงที่ใช้งานได้ง่ายมากและติดมากับตัว Firefox เลย เหมาะกับการดาวน์โหลดแบบไม่ซีเรียสมากมายเนื่องจากมันผูกกับโปรเซสของ Firefox เวลามันอืดแล้วอาจทำให้น่าหงุดหงิดได้ แต่ก็เป็นโปรแกรมอีกตัวที่กะทัดรัดและน่าโหลดมาใช้หากไม่อยากติดตั้งโปรแกรมแยกต่างหาก


         3. JDownloader ตัวนี้เป็นโปรแกรมช่วยดาวน์โหลดเฉพาะของสำหรับสาวกนักโหลดไฟล์ตามเว็บฝากไฟล์ต่างๆ เพราะโปรแกรมตัวนี้รองรับการทำงานของเว็บฝากไฟล์ดังๆ แทบทุกเว็บ ปัญหาเรื่องการรอกดดาวน์โหลด การใส่ captcha ก็จะหมดไปเนื่องจากตัวนี้จะถอดรหัสให้หมด (แต่บางเว็บก็ต้องใส่เองนะจ๊ะ) ที่สำคัญสามารถเช็คได้ว่าไฟล์ไหนโหลดได้หรือไม่ได้อีกต่างหาก และสามารถสั่งแตกไฟล์เองเมื่อโหลดครบหรือสั่งปิดเครื่องก็ยังได้ ข้อเสียเพียงอย่างเดียวที่นึกออกคือ โปรแกรมตัวนี้ค่อนข้างช้าในเรื่องของการทำงาน
 

        4. Orbit Downloader สำหรับคนชอบโหลดไฟล์วิดีโอไม่ว่าจะจากโปรโตคอลไหนๆ หรือเว็บอะไรตัวนี้เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมากตัวนึงเพราะฟีเจอร์การดาวน์โหลดที่บอกไปข้างต้นคือตัวชูโรงของโปรแกรมตัวนี้ รองรับโปรโตคอลเยอะมาก (HTTP, RTSP, MMP, RTMP, ETC.) เรียกว่าคุณดูหนังผ่านตัวไหนตัวนี้โหลดได้แทบหมดทุกตัวจริงๆ และดาวน์โหลดอะไรที่ streaming มาได้เกือบทั้งหมด ใครชอบด้านนี้ลองดูครับ เบาเครื่องด้วยนะเออ
 



        5. MDownloader สำหรับคนที่อาจรับไม่ได้กับความอืดของ JDownloader ตัวนี้อาจเป็นคำตอบสำหรับคุณ แต่ฟีเจอร์มันก็น้อยลงเช่นกันโดยรองรับเพียงไม่กี่เว็บในตอนนี้ แต่ก็เป็นโปรแกรมช่วยดาวน์โหลดอีกตัวที่กำลังมาแรงและน่าจะพัฒนาได้ไปอีกไกลในอนาคต

6.เว็บไซต์ที่ให้บริการสำหรับดาวน์โหลดซอฟต์แวร์
        1. CNET – มีโปรแกรมให้เลือกดาวน์โหลดกว่า 100,000 โปรแกรม เว็บนี้ใครหลายๆคน ก็คงจะคุ้นเคยกัน


        2. Brothersoft – เป็นอีกเว็บที่ได้รับความนิยม มีการจัดหมวดหมู่โปรแกรมทั้งแบบฟรีแวร์และแชร์แวร์



        3. Freedownloadscente – แหล่งรวมโปรแกรมหลากหลายประเภท ให้รอให้คุณไปค้นหา และดาวน์โหลด
 



        4. ZDNet downloads – เรียกได้ว่าเป็น Software Directory ที่รวบรวมโปรแกรมไว้มากมาย เป็นอีกเว็บที่ได้รับความนิยม เพราะมีโปรแกรมครอบคลุมทั้ง Windows, Mac และ Mobile

        5. Download3000แนะนำโปรแกรมฟรีแวร์มากมาย มีการจัดหมวดหมู่โปรแกรมเพื่อง่ายต่อการค้นหาโปรแกรม และยังมีสคริปต่างๆ ให้เลือกดาวน์โหลด มีโปรแกรมทั้งบน Windows และ Mac


        6. All-freeware – แหล่งรวมโปรแกรมฟรีแวร์ โปรแกรมออกใหม่อีกแห่งที่น่าสนใจ และน่าติดตาม


        7. Tucow?s Butterscotch - แหล่งรวมโปรแกรมฟรีแวร์ที่มีโปรแกรมมากกว่า 20,000 โปรแกรม รวมไปถึงโปรแกรมบนมือถือ


        8. FreewareFiles - รวบรวมโปรแกรมฟรีแวร์ ที่ให้คุณพร้อมดาวน์โหลด เป็นอีกเว็บที่เข้าบ่อยๆ

        9. Get Jar – แหล่งรวมโปรแกรม แอพพลิเคชั่นบนมือถือ ที่ใหญ่อีกแห่ง คิดว่าหลายๆคน ก็คงรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะเป็นแหล่งรวมโปรแกรมต่างๆ ไว้มากมายให้เลือกดาวน์โหลดและใช้งาน Android, BlackBerry, Windows Mobile,iPhone และ Symbian มีโปรแกรมมากกว่า 75,000 โปรแกรม


        10. Majorgeeks – คุณสามารถเลือกโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณที่มีให้ดาวน์โหลดฟรี


7.ข้อแนะนำในการดาวน์โหลดข้อมูล
        สำหรับผู้ที่จะทำการดาวน์โหลดแบบพิมพ์ จำเป็นจะต้องทำการติดตั้งโปรแกรม Adobe Reader ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน โดยสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้จาก Link ด้านล่างนี้ Acrobat Reader 9.0.0 (สำหรับ Microsoft Windows XP ขึ้นไป และสามารถใช้ในการป้อนข้อมูลด้วยภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ)
        Acrobat Reader 7.0.5  (สำหรับ Microsoft Windows XP ขึ้นไป )
ถ้าหากท่านใดต้องการจะเข้าไป Download เองจากเว็บไซต์ของ Adobe โดยตรงสามารถเข้าไป Download ได้ที่ http://www.adobe.com/products/acrobat/readstep2_allversions.htmlหรือ http://www.adobe.com  
ขอแนะนำให้ใช้ Adobe Reader เวอร์ชั่น 5.0.5 ขึ้นไป กรณีที่ในเครื่องที่ใช้งานมีการติดตั้ง Adobe Acrobat Professional อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Adobe Reader เพิ่มอีก สำหรับโปรแกรม Adobe Acrobat Professional ไม่สามารถนำมาให้ทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์ Download ไปได้เนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
โปรแกรม Adobe Reader มีขีดความสามารถดังนี้ 
- สามารถแสดงผลไฟล์นามสกุล .pdf และสามารถป้อนข้อมูลลงในช่องว่างที่กำหนดไว้ให้ได้
- สามารถสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้
- ไม่สามารถบันทึก (Save) ข้อมูลที่ป้อนลงในช่องว่างเก็บไว้ได้ ทำได้ในกรณีที่ติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Professional
        ถ้าหากท่านใดที่ติดตั้ง Adobe Reader เวอร์ชั่นล่าสุดลงไปแล้ว แต่ยังติดปัญหาการพิมพ์ภาษาไทยลงในแบบพิมพ์ หรือ ป้อนข้อมูลที่เป็นภาษาไทยลงในช่องว่างไม่ได้เลยให้ลองตรวจสอบตามขั้นตอนดังนี้
คลิกเมนู Help -> Check for updates now… -> จากนั้นโปรแกรมจะเช็คว่าได้ติดตั้ง Multilanguage Support แล้วหรือยังถ้ายังให้ทำการ Update เข้าไปด้วย โดยทำตามขั้นตอนของโปรแกรมต่อไป

8.วิธีใช้โปรแกรมประเภท FTP ช่วยในการดาวน์โหลดและอัพโหลดข้อมูล
1. การดาวน์โหลดไฟล์( DOWNLOAD )
        การใช้งานในอินเตอร์เน็ตที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย นอกเหนือจากส่ง E-mail ก็คิอ การดาวน์โหลดไฟล์ (Dornload) หรือการเคลี่อนย้ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์บนอินเตอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการอินเตอร์เน็ตมีไฟล์ต่าง ๆ อยู่มากมาย เช่น ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์วีดีโอ หรือ ไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ อีกมากมายที่สามารถรันบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้นวิธีการแยกแยะไฟล์ต่าง ๆ ว่าเป็นไฟล์ประเภทใดบ้าง ก็จะใช้วิธีการกำหนดนามสกุล (Extension) ที่แตกต่างกันออกไป รายละเอียดของนามสกุลไฟล์ต่าง ๆ ได้แก่.DOC, .TXT เป็นไฟล์ที่ประกอบด้วยตัวอักษรล้วนๆ สามารถเปิดอ่านได้โปรแกรมจำพวกMicrosoft Wordหรือ Not Pad.WAV, .MID, .AV, .AIF เป็นไฟล์เสียงที่สามารถฟังเสียงต่าง ๆ ได้โดยใช้ โปรแกรมMesia Player, sound Recorder ฯลฯ.BMP, .GIF, .JPG, .PIC เป็นไฟล์ประเภทรูปภาพ สามารถเปิดจากโปรแกรม Photoshopหรือ Paintbrush ก็ได้.EXE, .COM เป็นไฟล์โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ สามารถเรียกใช้งาน Start > Run บน Windows 95/98 หรือ Run บน Windows 3.11.AVI, .MOV เป็นไฟล์ประเภทภาพเคลื่อนไหว สามารถเปิดไฟล์เหล่านี้ได้จากMedia Player บน
ลักษณะของ FTP server
        ในปัจจุบัน มีการดาวน์โหลดไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ตมากมาย ซึ่งมักจะใช้วิธีการที่เรียกว่า" FileTransfer Protocol " หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า " FTP " ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตได้FTP ทำงานในรูปแบบของ Client / Server เช่นเดียวกับการบริการทางด้านอื่น ๆ ของอินเตอร์เน็ต ดังนั้นจะต้องรัน FTP client บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เสียก่อน เพื่อติดต่อไปยัง FTP server ในการร้องขอหรือดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องการ FTP server มีโปรแกรมชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวจัดการการดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องการอัพโหลดไฟล์ ซึ่งเรียกว่า " FTP deamon " และการติดต่อกันระหว่าง FTP client กับ FTP server จะต้องมีการระบุ User Name และ รหัสผ่าน (Password) เสียก่อน สำหรับ FTP site บางแห่งอนุญาตให้ FTP client ใช้ E-mail Address ของตัวเองรหัสผ่านได้ แต่สำหรับ FTP siteบางแห่งอนุญาตให้กลุ่มบุคคลบางกลุ่มสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้เท่านั้น เช่น สมาชิกของกลุ่มผู้ใช้เท่านั้น
        วิธีการดาวน์โหลดไฟล์ส่วนมากเว็บไซต์ต่าง ๆ มักจะมีไฟล์ให้สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ แต่วิธีการดาวน์โหลดจะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ผู้ออกแบบเว็บไซต์นั้น ๆ ไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตที่รอการดาวน์โหลด สามารถแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น ไฟล์ที่แจกฟรี (Freeware) ไฟล์ที่ให้ทดลองใช้งานก่อน (Shareware) และไฟล์ที่ต้องการชำระเงินก่อนการดาวน์โหลดไฟล์ ดังนั้นจึงควรสังเกตไฟล์หรือซอฟต์แวร์ที่ต้องการดาวน์โหลดเสียก่อน ว่าเป็นประเภทที่ตรงกับความต้องการหรือไม่
ตัวอย่างการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์
1. พิมพ์ URL ลงในช่อง Location : http://www.sharware.com/
2. เลื่อนเมาส์เพื่อค้นหาไฟล์ที่ต้องการ หรือสามารถใช้วิธีการค้นหาได้จากการพิมพ์ชื่อไฟล์ หรือชื่อซอฟต์แวร์ลงไป แล้วคลิก Search
3. คลิกเลือกซอฟต์แวร์ที่ต้องการ
4. เว็บเพจของซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ให้สังเกตคำว่า Downlod Now
5. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างให้บันทึกชื่อไฟล์ที่ต้องการบันทึก
6. คลิก Save
7. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างสถานะของการดาวน์โหลดไฟล์ จะต้องรอให้ครบ 100%
8. หลังจากที่ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยโดยไม่มีปัญหาอะไร จึงจะสามารถเรียกใช้ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาได้ทันที

2.การอัพโหลด
        การโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อผู้ใช้ไปยังผู้ให้บริการ ซึ้งการใช้งานก็ตรงกันข้ามกับดาวโหลด แต่แตกต่างกัน
- ไฟล์ข้อความ (Text File)คือ อะไร
เป็นไฟล์ที่แพร่หลายมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต โดยจะบรรจุข้อความตัวอักษรภาษาต่างๆ เช่นอังกฤษ ญี่ปุ่น ไทย และอื่นๆ เป็นต้น ปัจจุบันเวิลด์ไวด์เว็บนิยมใช้ไฟล์ข้อความมาก เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อีเมล์ เป็นต้น การสังเกตไฟล์ข้อความดูได้จากนามสกุล คือ .txt , .doc , .html เป็นต้น การดึงไฟล์ข้อความจากอินเทอร์เน็ตทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย เพราะมีใหญ่มาก
- ไฟล์เสียง (sound) เป็นไฟล์ลักษณะของเสียง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
- ไฟล์ภาพ
ประเภทของไฟล์ภาพที่ควรจะพบเมื่อใช้วินโดวส์ 98 มีดัง BMP (Bitmap)
ไฟล์ภาพประเภทที่เก็บจุของภาพแบบจุดต่อจุดตรงๆ เรียกว่าไฟล์แบบ บิตแมพ( Bitmap ) ไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่แต่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการเก็บแบบ Bitmap ใช้เนื้อที่ในการเก็บจำนวนมาก จึงได้มีการคิดค้นวิธีการเก็บภาพให้มีขนาดเล็กลงโดยยังคงสามารถเภาพได้เช่นเดิม ขึ้นมาหลายวิธีการ เช่น JPEG และ GIF 
        JPEG ( Joint Graphics Expert Group ) เป็นการเก็บไฟล์ภาพแบบที่บีบอัด สามารถทำภาพ ให้มีขนาดของไฟล์ภาพเล็กกว่าแบบ Bitmap หลายสิบเท่า แต่เหมาะจะใช้กับภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติเท่านั้น ไม่เหมาะกับการเก็บภาพเหมือนจริง เช่น ภาพการ์ตูน เป็นต้น 
        GIF เป็นวิธีการเก็บไฟล์ภาพแบบบีบอัดคล้ายกับ JPEG โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถเก็บภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติได้มีขนาดเล็กเท่ากับแบบ JPEG แต่สามารถเก็บภาพที่ไม่ใช่ภาพถ่ายจากธรรมชาติเช่น ภาพการ์ตูน ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ GIF ยังสามารถเก็บภาพไว้ได้หลายๆภาพ ในไฟล์เดียว จึงถูกนำไปใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวง่ายๆ เช่น ในอินเตอร์เน็ต
        TIFF ( Tagged Image File Format )คือการเก็บไฟล์ภาพในลักษณะเดียวกับไฟล์แบบ BMP แต่ในไฟล์มี Tagged File ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยโปรแกรมควบคุมการแสดงภาพ เช่น การแสดงหรือไม่ แสดงภาพบางส่วนได้ ภาพที่เก็บไว้ในลักษณะของ TIFF จึงมีความพิเศษกว่าการเก็บแบบอื่นที่กล่าวมา นอกจากนี้ยังมีไฟล์ภาพแบบต่างๆ อีกหลายแบบ โดยแต่ละแบบจะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป
-ไฟล์วีดีโอ
เป็นข้อมูลที่ผสมกันระหว่างไฟล์ภาพและไฟล์เสียง
-ไฟล์โปรแกรม
เป็นโปรกรมต่าง ๆ ที่ตอบสนองการใช้

แหล่งที่มาข้อมูล http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Database/database2.htm
                        http://poohnaka.blogspot.com/2008/11/blog-post_7063.html
                        http://www.108blog.net/10-top-web-download-freeware/
                        http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=947&filename=index

                        http://poohnaka.blogspot.com/